Siriraj Hospital ties up with CARIVA for new medical breakthroughs

Ref: https://www.nationthailand.com/lifestyle/health-wellness/40030527


https://www.biztalknews.com/healthcare/siriraj-cariva-medical-ai/?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=siriraj-cariva-medical-ai

Dr Prof Apichat Asavamongkolkul, dean of the Faculty of Medicine at Siriraj Hospital, Mahidol University, underscored the structural shift in Thai society, marked by an ageing population and rapid urbanisation.


Siwadol Matayakul, CEO and co-founder of CARIVA (Thailand) Co Ltd, also stressed the importance of giving all Thais equal access to comprehensive treatment. He said CARIVA was committed to advancing digital healthcare solutions and tailored medical AI technology, by creating health applications tailored to hospital needs and integrating data from diverse devices.

Natruedee Khositaphai, executive vice president of PTTEP's Technology and Carbon Solutions Group and a member of ARV's board of directors, underscored Thailand’s digital transformation fuelled by cutting-edge technology.

คณะแพทย์ ศิริราชฯ – แคริว่า ดึงความอัจฉริยะข้อมูล หนุน เมดิคัล เอไอ สตาร์ทอัพ ชู 4 นวัตกรรม เพิ่มความล้ำกับการตรวจรักษาระดับไฮเทค

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับบริษัท แคริว่า (CARIVA) ประเทศไทย จำกัด ภายใต้การกำกับดูแลของ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส หรือ เออาร์วี (ARV) มุ่งยกระดับวงการแพทย์ไทยผ่านการนำนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผสมผสานเข้ากับองค์ความรู้เฉพาะทาง 4 โครงการ ได้แก่ โครงการ SiCAR Ai Lab : แพลตฟอร์มทดสอบ และพัฒนาเเบบจำลองปัญญาประดิษฐ์ทางด้านการแพทย์ โครงการพัฒนา AI อ่านและวิเคราะห์ภาพทางการแพทย์ โครงการพัฒนาบริการการตรวจยีนส์ เพื่อประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคในอนาคต และโครงการแหล่งพัฒนาสตาร์ทอัพ เพื่อต่อยอดนวัตกรรมทางการแพทย์สู่ธุรกิจจริงกับศูนย์ VDC ทั้ง 4 โครงการนี้ถือเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้บริการด้านสุขภาพในทุกมิติ รวมถึงช่วยยกระดับความสามารถทางการแข่งขันให้อุตสาหกรรมการแพทย์ของไทยมีความทันสมัย มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ตอกย้ำการเป็นศูนย์กลางบริการการแพทย์ของโลก

โรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทางด้านสุขภาพจิต BMHH พร้อมมอบทางเลือกใหม่ ชูกลยุทธ์สร้างความต่าง “การรักษาแบบเฉพาะบุคคล”

ศ.นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของสังคมไทย ทั้งการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุการขยายตัวของชุมชนเมือง รวมถึงกระแสการดูแลสุขภาพที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ทำให้โรงพยาบาลต้องปรับแนวทางการให้บริการด้านสุขภาพ โดยเฉพาะการเป็นพันธมิตรกับผู้ประกอบการด้านนวัตกรรม เพื่อร่วมกันรังสรรค์สิ่งใหม่ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีชีวภาพด้านสุขภาพ ฯลฯ ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพการให้บริการด้านสุขภาพในทุกมิติแล้ว ยังเป็นการช่วยยกระดับความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้ผลิต ผู้พัฒนา ตลอดจนอุตสาหกรรมการแพทย์ของไทยให้มีความทันสมัย มีมูลค่าที่สูงขึ้น และมุ่งไปสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ของโลก

“ในอนาคต ความเชี่ยวชาญทางการแพทย์เพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถทำให้การรับมือกับภาวะทางสุขภาพเกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด หน่วยงานทางการแพทย์จึงจำเป็นต้องดึงความโดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้ในการรักษา ความถนัดเฉพาะทาง รวมถึงข้อมูลที่มีอยู่มาผสานกับนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้สมรรถนะในการดำเนินงานไต่สู่ระดับที่สูงขึ้น เช่นเดียวกันกับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลที่ได้นำข้อมูลที่มีคุณภาพ หรือ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาต่อยอดกับเทคโนโลยีอย่างปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ซึ่งกำลังมีอิทธิพลอย่างมากต่อวงการการแพทย์ อานิสงส์สำคัญคือการลดปัญหาจำนวนแพทย์ที่ไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วย ต่อเนื่องถึงการทำให้การวินิจฉัยทางการแพทย์มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น เพิ่มศักยภาพการรักษาพยาบาล – การวางแผนการรักษาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ตลอดจนการเป็นแหล่งบ่มเพาะ Medical AI Startup , MedTech Startup ให้เกิดขึ้นจากพื้นที่ที่เชี่ยวชาญด้านการแพทย์โดยตรงได้อีกด้วย”

ด้าน นาถฤดี โฆสิตาภัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานเทคโนโลยีและคาร์บอนโซลูชั่น บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และบอร์ดบริหาร เออาร์วี กล่าวว่า เมื่อภาคอุตสาหกรรมของไทยหมุนเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ความสามารถในการสร้างสรรค์และใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนำมาใช้ประโยชน์นับเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต ซึ่งการนำเทคโนโลยี AI มาใช้กับการแพทย์ นับเป็นหนึ่งในสิ่งที่น่าจับตามอง

“เมื่อประชากรโลกหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น บวกกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งผลให้ธุรกิจด้านนวัตกรรมการแพทย์ทั่วโลกเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ประเทศไทยธุรกิจด้านการแพทย์จัดเป็นหนึ่งใน New S Curve หรืออุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ที่ภาครัฐให้การส่งเสริม เพราะไทยมีความพร้อมทั้งด้านคุณภาพการบริการ มาตรฐานการรักษา และเทคโนโลยีทางการแพทย์อีกทั้งยังเป็นประเทศที่ชาวต่างชาติไว้วางใจที่จะเดินทางมารักษาโรคและดูแลสุขภาพติดอันดับต้นๆ ของโลก ทางด้านรัฐบาลไทยจึงได้จัดทำ ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (MEDICAL HUB) (พ.ศ.2560 – 2569)” ขึ้น และการที่เทคโนโลยีเข้ามาสั่นสะเทือนวงการการแพทย์ ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนด้านการลงทุน จากเดิมที่เคยลงทุนใน “ธุรกิจการแพทย์ดั้งเดิม” ไปสู่ “ธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์” ซึ่งนอกจากจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ยังเป็นการสร้างโอกาสด้านการลงทุน และช่วยผลักดันไทยกลายเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ครบวงจรของเอเชียได้ ดังนั้น การทำความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลในครั้งนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะทำให้สตาร์ทอัพในด้านดีพเทค และ AI ด้านการแพทย์ มีโอกาสพัฒนาศักยภาพเพิ่มมากขึ้น และทำให้มูลค่าเทคโนโลยีเชิงลึกของประเทศไทยเติบโตและแข่งขันได้ในระดับโกลบอล”

4 โครงการที่ได้ร่วมกันจัดทำและพัฒนา

ศิวดล มาตยากูร ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท แคริว่า (CARIVA) ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า แคริว่าเห็นความสำคัญของการส่งเสริมให้คนไทยสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม จึงเป็นองค์กรที่มุ่งเน้นการพัฒนาดิจิทัลโซลูชั่นด้านการดูแลสุขภาพ และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ด้านการแพทย์เฉพาะบุคคล เช่น การพัฒนาแอปพลิเคชันสุขภาพที่ตอบโจทย์การดูแลสุขภาพให้กับโรงพยาบาล หรือการเชื่อมต่อข้อมูลสุขภาพจากอุปกรณ์ต่างๆ อย่างครบวงจร และการสร้างระบบช่วยแพทย์ตัดสินใจ และช่วยในการวินิจฉัยโรคเชิงลึกแบบองค์รวม (multi-modal prediction model)

ด้วยการนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีเชิงลึก แพลตฟอร์ม และปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นความถนัดของแคริว่า มาผสมผสานเข้ากับองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันการแพทย์ชั้นนำของประเทศไทย เพื่อเปลี่ยนเเปลงและปฏิวัติวงการแพทย์ ผ่าน 4 โครงการที่ได้ร่วมกันจัดทำและพัฒนา ได้แก่

โครงการ SiCAR Ai Lab : แพลตฟอร์มทดสอบ และพัฒนาเเบบจำลองปัญญาประดิษฐ์ทางด้านการแพทย์ ซึ่งเป็นการพัฒนาฐานข้อมูลสุขภาพแบบนิรนามพร้อมใช้ร่วมกับศิริราช ผสมผสานกับการสร้าง AI model ของ CARIVA รวมถึงการสร้างชุดข้อมูลเสมือนทางการแพทย์โดยใช้ AI (Synthetic data) ช่วยให้สตาร์ทอัพสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพแบบนิรนามได้มากขึ้น สามารถปรับปรุง AI กับฐานข้อมูลที่คัดสรรโดยบุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับสตาร์ทอัพ นำไปสู่การยกระดับการดูแลสุขภาพและการรักษาทางด้านการแพทย์ และส่งเสริมระบบนิเวศของ Medical AI start up ของประเทศไทย

โครงการร่วมมือกับภาควิชารังสีวิทยา ในการพัฒนา AI อ่านและวิเคราะห์ภาพทางการแพทย์ประเภทต่างๆ อาทิ AI วัดปริมาตรอวัยวะ และเนื้องอก และ Imaging study recommender

AI วัดปริมาตรอวัยวะ และเนื้องอก : ทางเเคริว่า ได้พัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยทั้งในการแยกชิ้นส่วน ระบายสี และแสดงผลออกมาในรูปแบบสามมิติ ซึ่งสามารถช่วยลดระยะเวลาการเตรียมภาพ (Label) และการคำนวณโดยเฉลี่ยไปได้กว่าครึ่ง โดยข้อมูลที่ใช้ในการฝึกฝนในขั้นต้นนั้นเป็นข้อมูลจากต่างประเทศ ความร่วมมือกับภาควิชารังสี จะเป็นการต่อยอดโมเดลให้เหมาะสมกับข้อมูลของคนไข้ภายในประเทศไทย และเปิดโอกาสให้รังสีแพทย์ในศิริราชได้ทดสอบและลองใช้งาน เพื่อเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้รังสีแพทย์ทำงานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้น ช่วยลดภาระงานและนำไปสู่ผลลัพท์ของการประเมิน หรือการวินิจฉัยอาการของคนไข้ได้ดียิ่งขึ้น

Imaging study recommender: ร่วมกันพัฒนา AI ที่จะช่วยแนะนำการตรวจทางรังสีวิทยา เช่น X-ray และ CT ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยอ้างอิงจากข้อมูลต่างๆ อาทิ ประวัติสุขภาพ ประวัติการตรวจภาพถ่ายทางรังสี ปัจจุบันระบบต้นแบบสามารถคาดการณ์ประเภทการตรวจของคนไข้ได้แม่นยำถึง 96% ระบบนี้นอกจากจะเป็นเสมือนผู้ช่วยของรังสีแพทย์ในการเลือกการตรวจที่เหมาะสมแล้ว ยังสามารถต่อยอดเครื่องมือดังกล่าวกับการบริการด้านอื่นๆ ของโรงพยาบาล เช่น การตรวจแล็บ การสั่งยาได้อีกด้วย

โครงการธุรกิจด้านจีโนมิกส์ โดยร่วมกับศูนย์จีโนมิกส์ศิริราช ส่งเสริมการเข้าถึงการตรวจความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งด้วยรหัสพันธุกรรม ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีความแม่นยำสูง และความร่วมมือกับห้องปฏิบัติการ Siriraj Long-read lab ผลักดันผลงานวิจัยที่ใช้เทคโนโลยี Long-Read Sequencing ไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยร่วมกันพัฒนากับแคริว่า 2 ผลิตภัณฑ์แรก คือ NanoPGx (Nanopore-based pharmacogenomics) เป็นการตรวจยีนแพ้ยาแบบความละเอียดสูงและแตกต่างจากการวิธีดั้งเดิม กล่าวคือ เป็นการตรวจยีนแพ้ยาที่ไม่ขึ้นกับเชื้อชาติ (population-independent) ทำให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถให้บริการทั้งผู้ป่วยชาวไทยและชาวต่างชาติ ยกระดับการตรวจยีนแพ้ยาให้เข้าสู่ระดับสากล

ผลิตภัณฑ์ที่สองคือ Preemptive-101 เป็นการตรวจยีน 101 ยีน ที่คัดเลือกมาแล้วว่าลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตหรือภาวะแทรกซ้อนให้กับลูกค้าได้ เช่น ตรวจยีนที่เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากการแพ้ยาสลบ หรือภาวะ Malignant Hyperthermia โดยแคริว่าจะร่วมพัฒนาระบบการประมวลผลที่ใช้งานง่าย เพื่อให้บริการเเก่กลุ่มลูกค้า B2B อย่างโรงพยาบาล หรือคลินิก ที่สนใจ (ทั้งสองผลิตภัณฑ์อยู่ระหว่างการวิจัยเเละพัฒนา)

โครงการความร่วมมือกับศูนย์ขับเคลื่อนคุณค่าการบริการ (VDC) : แหล่งพัฒนาสตาร์ทอัพ เพื่อต่อยอดนวัตกรรมทางการแพทย์สู่ธุรกิจจริง โดยร่วมกันบ่มเพาะ สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ ผ่านกิจกรรม Design Thinking ให้เข้าใจถึงปัญหาอย่างแท้จริง และสามารถพัฒนานวัตกรรมที่จะเข้ามาตอบโจทย์ ตลอดจนการให้คำแนะนำทั้งด้านธุรกิจ และเทคโนโลยี หรือการปรับปรุงโมเดลผ่านแพลตฟอร์ม SiCAR Ai Lab เพื่อเติมเต็มความรู้ให้กับแต่ละทีม และต่อยอดสู่ธุรกิจในระยะยาว

Thidathip Wongsurawat