From Bench to the market: The evolution of Nanopore technology - จากหิ้งสู่ห้าง เส้นทางนวัตกรรมนาโนพอร์สู่บริษัทยูนิคอน” NAC2022
นาโนพอร์เทคโนโลยีเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ประโยชน์จากการให้โมเลกุลที่สนใจเคลื่อนที่ผ่านเมมเบรนทางช่องว่างระดับนาโนเมตรหรือนาโนพอร์ที่ถูกกำหนดไว้เท่านั้น เพื่อตรวจวัดหรือทดสอบอัตลักษณ์ของสารที่ต้องการ
โดยในช่วงเวลาที่โมเลกุลกำลังเคลื่อนที่ผ่านนาโนพอร์นั้น อาจเกิดอันตรกิริยาขึ้นระหว่างตัวโมเลกุลกับผนังนาโนพอร์ซึ่งส่งผลต่อระยะเวลาที่สารใช้ในการเคลื่อนที่ผ่าน โดยอันตรกิริยาดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของขนาด รูปร่าง และสมบัติทางเคมีระหว่างโมเลกุลที่ตรวจวัดกับนาโนพอร์ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกวัดผ่านกระแสไอออนที่ไหลผ่านช่องว่างระดับนาโนเมตร ซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับการเคลื่อนที่ของโมเลกุลผ่านช่องว่างระดับนาโนเมตร ลักษณะของสัญญาณไอออน อาทิเช่น การลดลงของสัญญาณ (blockage event) ความถี่ของเหตุการณ์ (blockage frequency) ช่วงเวลาที่กระแสไอออนเปลี่ยนแปลง (translocation duration) ทำให้สามารถนำมาใช้วิเคราะห์เพื่อบอกรูปร่าง ขนาด ความเข้มข้น ตลอดจนสมบัติทางเคมีบางประการของโมเลกุลที่ตรวจวัดได้ รวมถึงถอดรหัสพันธุกรรมได้อีกด้วย ปัจจุบันมีบริษัทสตาร์ทอัพจากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ประเทศสหราชอาณาจักร ได้พัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวจนสามารถผลิต และจำหน่ายเครื่องวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมด้วยนาโนพอร์เทคโนโลยีออกไปทั่วโลก กลายเป็นหนึ่งในบริษัทสตาร์ทอัพยูนิคอนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งในงานเสวนานี้จะมีการบรรยายพิเศษจากหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพดังกล่าว และสถานภาพงานวิจัยเกี่ยวกับนาโนพอร์เทคโนโลยีในประเทศไทย และแผนงานในอนาคตอีกด้วย
ที่มา: https://www.nstda.or.th/nac/2022/seminar/from-bench-to-the-market-the-evolution-of-nanopore-technology/
ผู้ดำเนินรายการ:
ดร.ธิติกร บุญคุ้ม
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ผู้เข้าร่วมการเสวนา:
ผศ.ดร.นิรุต ผุสดี
ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่อ.ดร.ธิดาทิพย์ วงศ์สุรวัฒน์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลอ.ดร.พญ.นวลกันยา สถิรพงษะสุทธิ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ดร.อรพรรณ ศรีพิชัย
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ